การแสดงผล

+
-

โครงสร้างหน่วยงาน/อำนาจหน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที่

 

ฝ่ายบริหารทั่วไป

1. งานบริหารบุคคล ข้อมูลบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

2. งานแผนและประเมินผล จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ จัดทำคำของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี

3. งานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และติดตามรวบรวมตัวชี้วัดหน่วยงาน

4. งานสารบรรณ งานธุรการ งานประชุมสัมมนา และงานเลขานุการ

5. งานการเงิน งานพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง งานทะเบียนพัสดุ และครุภัณฑ์ 

6. งานเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ภารกิจ

7. ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใดในสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก

8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก

1. ศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อกำหนดรูปแบบ แนวทางและหลักเกณฑ์ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนาระบบและรูปแบบการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

3. เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดและจัดรูปแบบการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ในระดับต่างๆ

4. กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และการประกันคุณภาพการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานและผู้ประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง

5. ศึกษา วิเคราะห์รูปแบบการแนะแนวการฝึกอบรมฝีมือแรงงานและพัฒนาเครื่องมือ ทดสอบความสนใจและความถนัดในการทำงานและข้อมูลการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

6. นิเทศ ถ่ายทอด ติดตามประเมินผล และให้คำปรึกษาวิทยาการด้านระบบ รูปแบบกระบวนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และบริหารจัดการฝึกฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มงานพัฒนาผู้ฝึกและผู้ประเมิน

1. กำหนดกลยุทธ์และแผนพัฒนาผู้ฝึกในการกำกับ และส่งเสริมสถานฝึกอบรมภาครัฐและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองการเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศ

2. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบรูปแบบการพัฒนาผู้ฝึกทั้งระบบ เพื่อพัฒนามาตรฐานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

3. กำหนดแผนพัฒนาผู้ฝึกและผู้ประเมินของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงตามตำแหน่งงาน และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

4. บริหารระบบข้อมูลสำหรับงานพัฒนาผู้ฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

5. ออกแบบพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม (Core Course) ในการพัฒนาความก้าวหน้าของตำแหน่งตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการและนโยบายภาครัฐ

6. ออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานและตรงตามตำแหน่งงานเพื่อพัฒนาผู้ฝึกและผู้ประเมินทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีทักษะฝีมือทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

7. จัดทำเอกสารประกอบการฝึก คู่มือ สื่อการฝึก เพื่อใช้ในการประกอบการฝึกอบรมผู้ฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

8. ประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมผู้ฝึก เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบ และวิธีการพัฒนาผู้ฝึก

9. เป็นวิทยากรที่ปรึกษาการพัฒนาผู้ฝึกให้ผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรฝึก

10. ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านกระบวนการพัฒนาผีมือแรงงานและการวิเคราะห์จำแนกตำแหน่งงาน เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทัศนคติของกำลังแรงงานให้ผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงาน

11. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนาผู้ฝึกและผู้ประเมิน และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงาน

12. จัดทำโครงการและดำเนินการพัฒนาผู้ฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงตามตำแหน่งงาน และให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

13. ดำเนินการและบริหารการฝึกอบรมผู้ฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน และตรงตามตำแหน่งงาน

14. บริหาร และควบคุมงบประมาณการดำเนินการในโครงการพัฒนาผู้ฝึกตามแผน และโครงการพัฒนาบุคลากรฝึกนอกแผน

15. วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ฝึก

16. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก

1. ศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อกำหนดระบบและรูปแบบการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และความต้องการกำลังแรงงานของตลาดแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาออกแบบหลักสูตร สื่อการฝึก ชุดการฝึก และอุปกรณ์ช่วยฝึก

2. ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ระบบ รูปแบบ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน

3. ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามตำแหน่งงานในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศ

4. ออกแบบเนื้อหา หลักสูตร นวัตกรรมการเรียนรู้ เช่น E-Learning, CD-ROM เป็นต้น

5. พัฒนาและจัดทำสื่อการฝึก ชุดการฝึก อุปกรณ์ช่วยฝึก ตำรา คู่มือ แบบทดสอบ ใบงาน ใบรายการ เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุการฝึก ตามกรอบหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามตำแหน่งงานในสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศ

6. ตรวจสอบ รับรองหลักสูตรการฝึกให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

7. กำกับ ดูแล แนะนำการใช้หลักสูตร สื่อการฝึก ชุดการฝึก และอุปกรณ์ช่วยฝึก

8. เป็นวิทยากรที่ปรึกษาในการพัฒนาและออกแบบหลักสูตร สื่อการฝึก ชุดการฝึก และอุปกรณ์ช่วยฝึก

9. ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านการพัฒนาและออกแบบหลักสูตร สื่อการฝึก ชุดการฝึก และอุปกรณ์ช่วยฝึก และการวิเคราะห์จำแนกตำแหน่งงานเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถทัศนคติของกำลังแรงงาน ผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงาน

10. ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านกระบวนการฝึกอบรมฝีมือแรงงานแก่ผู้ประกอบกิจการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงาน

11. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีการฝึก

12. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านศิลปกรรม ได้แก่ ออกแบบ ผลิต ติดตั้งงานบริการศิลปกรรม เช่น ป้ายนิทรรศการ ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายชื่อต่างๆ เป็นต้น

13. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

ศูนย์บริภัณฑ์เทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน

1. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยสภาพแวดล้อมเพื่อให้คำแนะนำ ออกแบบโครงสร้างอาคาร และวางผังเครื่องจักร สถานที่ฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้สอดรับกับสภาพการทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ สอดคล้องตามกระบวนการฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

2. กำหนดมาตรฐานเครื่องมือ ครุภัณฑ์สำหรับใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

3. บริหารจัดการบริภัณฑ์เทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน

4. ส่งเสริม สนับสนุนเทคโนโลยีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่สถานฝึกอบรมภาครัฐและเอกชน ตามกระบวนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

5. ออกแบบและให้คำแนะนำ การจัดสภาพภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ให้สอดรับกับความปลอดภัยและสุขอนามัย

6. ให้คำปรึกษา แนะนำการออกแบบ การวางระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะเครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวก ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มงานพัฒนาวิทยากรต้นแบบ

1. ศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบ

2. ออกแบบและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาวิทยากรต้นแบบให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน     

3. ดำเนินการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนนำไปใช้ในการฝึกอบรมของหน่วยงานตนเอง

4. ส่งเสริมให้มีวิทยากรต้นแบบในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายในการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ

5. ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรต้นแบบแก่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน

6. ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบ

7. เป็นศูนย์ข้อมูลวิทยากรต้นแบบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย