
ประวัติหน่วยงาน
พ.ศ. 2535 หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติยุบส่วนราชการ กรมแรงงาน พร้อมกับมีการจัดตั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม โดยโอนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไปสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2537
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ ให้แบ่งส่วนราชการ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองพัฒนาเทคโนโลยีการฝึกและพัฒนาฝีมือแรงงาน
(3) กองประสานการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีและเด็ก
(4) กองมาตรฐานฝีมือแรงงาน
(5) วิชาการและแผนงาน
(6) สถาบันพัฒนาบุคคลากรและพัฒนาฝีมือแรงงาน
(7) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง
(8) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค
กองประสานการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีและเด็ก มีอำนาจหน้าที่
(ก) ศึกษาพัฒนารูปแบบ และกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่สตรีและเด็ก
(ข) เป็นศูนย์ประสานงานและข้อมูลด้านการพัฒนาอาชีพสตรีและเด็ก
(ค) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม
ทั้งหมดตามบทบาทภารกิจ ทำให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถูกแยกออกเป็น 2 กระทรวง คือ
กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ถูก
จัดเข้าในสังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
ให้แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังต่อไปนี้
(1) สํานักงานเลขานุการกรม
(2) กองแผนงานและสารสนเทศ
(3) กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ
(4) - (5) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1-12
(6) สํานักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน
(7) สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
(8) ให้มีกลุ่มกฎหมาย
(9) ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน
(10) ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
กองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อกําหนดมาตรการและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน
และผู้ประกอบกิจการ
(2) ส่งเสริมการพัฒนานิสัยอุตสาหกรรมและองค์ความรู้เสริมในการพัฒนาศักยภาพแรงงาน
(3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบกิจการ
(4) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแรงงานสตรี เยาวชน คนพิการและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
โดยแบ่งโครงสร้างหน่วยงานภายใน ประกอบด้วย
(1) ฝ่ายบริหารทั่วไป
(2) กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพแรงงาน
(3) กลุ่มงานส่งเสริมขีดความสามารถผู้ประกอบกิจการ
(4) กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
(5) กลุ่มงานพัฒนาศักยภาพแรงงานสตรีและเยาวชน