การแสดงผล

+
-

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ประเด็นยุทธศาสตร์ / ภารกิจ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 44 ระนอง

 

วิสัยทัศน์

          เป็นศูนย์เครือข่ายฝึกอบรม พัฒนาส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงานแก่สถานประกอบการ

 

พันธกิจ

          ส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้ได้มาตรฐานสากล

          ส่งเสริมและพัฒนาการฝึกอบรมและทดสอบฝีมือแรงงานไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

          ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

          การพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต

          การพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อการพัมนาและขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ

 

ภารกิจสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 44 ระนอง

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 44 ระนอง มีภารกิจหลักในการให้บริการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กําลังแรงงานในพื้นที่จังหวัดระนอง โดยมีการให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๑.หลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทํางาน
เป็นการฝึกอาชีพให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ซึ่งไม่มีโอกาสศึกษาต่อและว่างงานให้มีความรู้ทักษะขั้นพื้นฐานเพียงพอที่จะเข้าทํางานในสถานประกอบการหรือนําไปประกอบอาชีพได้   โดยผู้เข้าฝึกอบรมไม่จําเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านช่างมาก่อน ซึ่งมีระยะการฝึกในศูนย์ ฯตั้งแต่ ๒ เดือน หรือ ๒๘๐ ชั่วโมง แต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน หรือ ๑,๖๘๐ ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสาขาช่างที่เข้าฝึก และเมื่อสิ้นสุดการฝึกในศูนย์ฯ แล้วจะต้องเข้ารับการฝึกในสถานประกอบการอีก ๑-๒ เดือน จึงจะถือว่าสําเร็จการฝึก  
๒.หลักสูตรฝึกยกระดับฝีมือแรงงานเป็นการฝึกอาชีพให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ ผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน หรือผู้ที่มีความรู้ในด้านนั้นๆ  มาบ้างแล้ว ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะให้ก้าวทันกับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเครื่องจักร เทคโนโลยี วิธี การทํางานตลอดจนการบริหารจัดการ เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีโอกาสในการหางานทํา การเลื่อนระดับปรับรายได้ให้สูงขึ้น ตลอดจนการสร้างความมั่นคงในการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกตั้งแต่ ๖ ชั่วโมงขึ้นไป  แต่ไม่เกิน ๒๔๐ ชั่วโมง
๓.หลักสูตรเสริมทักษะเป็นการฝึกอาชีพในสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านช่างอุตสาหกรรมและสาขาที่ไม่ใช่ช่าง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือเพื่อประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้หรือปรับเปลี่ยนอาชีพ มีระยะเวลาการฝึกตั้งแต่ ๖ ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๔๘๐ ชั่วโมง สถานที่จัดฝึกดําเนินการทั้งในศูนยฯ และในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นในสถานประกอบการ หมู่บ้าน ตําบล ฯลฯ

ด้านการส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงาน

การบริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการให้บริการในด้านการทดสอบฝีมือช่างในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นการกําหนดความรู้ทักษะที่ผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น ๆ จําเป็นต้องมี  รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานตามกําหนดได้แล้วเสร็จ มีคุณภาพทันตามกําหนดเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน สถานประกอบการในการรับพนักงานเข้าทํางาน การเลื่อนระดับ ตลอดจนสามารถนําไปใช้ในการควบคุมคุณภาพการทํางานโดยสถาบันได้ให้บริการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน ๓  ประเภทดังนี้

๑.การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นการทดสอบความรู้ทักษะในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยข้อกําหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการทดสอบเป็นมาตรฐานซึ่งกําหนดจากคณะกรรมการส่วนกลาง มี ๓ ระดับ คือ
        ๑.  ระดับที่ ๑ (ระดับต้น)
        ๒.  ระดับที่ ๒ (ระดับกลาง)
        ๓.  ระดับที่ ๓(ระดับสูง)
๒.การทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศ เป็นการทดสอบความรู้ทักษะในการทํางาน แต่ละประเภท ข้อกําหนด เกณฑ์  และวิธีการทดสอบเป็นไปตามความต้องการของประเทศนั้น ๆ
๓.การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการ เป็นการทดสอบความรู้  ทักษะในการทํางานในแต่ละตําแหน่ง ซึ่งการทดสอบในประเภทนี้ข้อกําหนด เกณฑ์  และวิธีการทดสอบเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยสถานประกอบการสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณากําหนดตําแหน่งหน้าที่ค่าจ้างเงินเดือน ตลอดจนการเลื่อนระดับ 

ด้านการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน

๑.ดําเนินการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจดทะเบียนเป็นผู้ดําเนินการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน  หรือเปิดดําเนินการเป็นศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕

๒.ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการ ใช้ระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อการพัฒนากําลังแรงงาน โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาต่างๆ ของพนักงาน เพื่อเป็นการพิจารณากําหนดตําแหน่ง หน้าที่ ค่าจ้างเงินเดือน การเลื่อนตําแหน่ง รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบภาคเอกชน