ประวัติกลุ่มพัฒนาระบบบริหารเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งกลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถูกกำหนดให้มีตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1009.4/10 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 เป็นหน่วยงานภายในระดับกอง ขึ้นตรงต่ออธิบดี ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2546
ต่อมากฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (เดิมคือกลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร) เป็นหน่วยงานที่มีชื่อปรากฎในกฎกระทรวง และเป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2554 มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
จากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มพัฒนาระบบบริหารได้จัดโครงสร้างเป็นการภายในเพื่อรองรับอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1.1 งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
1.2 งานช่วยอำนวยการ
1.3 งานจัดทำแผนงานและงบประมาณประจำปี
1.4 งานการประชุม
1.5 งานการเงินบัญชีและพัสดุ
1.6 งานบุคลากรเบื้องต้นของหน่วยงาน
1.7 งานอัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ
1.8 ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ฝ่ายพัฒนาระบบราชการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
2.1 งานด้านวิชาการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานวิชาการด้านการพัฒนาระบบราชการ
(2) ศึกษา วิเคราะห์ระบบราชการเพื่อวางแผนและบริหารอัตรากำลัง
(3) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
(4) ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.2 งานด้านโครงสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์โครงสร้างส่วนราชการให้เหมาะสมกับบทบาทและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
(2) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกรม เพื่อพิจารณาบทบาทและภารกิจ
(3) ปฎิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(4) ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่อง การจัดโครงสร้างหน่วยงาน
(5) ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.3 งานด้านระบบควบคุมภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์และจัดวางระบบควบคุมภายในของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร
(2) สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องการจัดทำรายงานการควบคุมภายในระดับส่วนงานย่อย
(3) จัดทำรายงานการควบคุมภายในระดับองค์กร
(4) ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.4 งานด้านการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
(2) รวบรวม จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ
(3) ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
3. ฝ่ายพัฒนาระบบบริหารการจัดการภาครัฐ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
3.1 งานด้านคำรับรองการปฏิบัติราชการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์และร่วมจัดทำตัวชี้วัดมิติที่ 1 ของคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
(2) ศึกษา วิเคราะห์และเสนอแนะการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพหลักของตัวชี้วัดในการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ
(3) สร้างความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดของคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
(4) จัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการรอบ 6 , 9 และ 12 เดือน
(5) เป็นเจ้าภาพหลักในการตรวจประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการของสำนักงาน ก.พ.ร.
(6) ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3.2 งานด้านพัฒนาองค์กร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามตัวชี้วัดของคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่กรมได้มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลัก
(2) สร้างความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องการนำเครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่เข้ามาใช้ในองค์กรตามนโยบายของ สำนักงาน ก.พ.ร
(3) ประสานดำเนินการพัฒนาระบบการตรวจประเมินภายในองค์กร
(4) ติดตามผลการดำเนินงานตามระบบการตรวจประเมินภายในองค์กร
(5) ปฎิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย