การแสดงผล

+
-

วิสัยทัศน์ ภารกิจ

ภารกิจของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์

1. ภารกิจด้านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

smileyฝึกอบรมให้แก่แรงงานใหม่ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ ดีต่ออาชีพในขั้นพื้นฐานของสาขาอาชีพต่างๆ ให้มีความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะแรงงานฝีมือ

smileyฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่มีงานทำอยู่แล้ว ให้มีความรู้ความสามารถและ ทักษะเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ หรือสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อหนุนกับงานที่ทำอยู่ให้สามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

smileyฝึกอบรมให้กับผู้ว่างงาน หรือแรงงานที่มีงานทำแล้วแต่มีความประสงค์จะเปลี่ยนอาชีพใหม่หรือประกอบอาชีพอื่นเพิ่มเติม

smileyให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาหลักสูตร แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

smileyฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงาน สตรี เยาวชน คนพิการ และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล


2. ภารกิจด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน

yesการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการทดสอบความรู้  ทักษะ และความสามารถที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละระดับ  การประเมินความรู้ ทักษะและความสามารถจะใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคความรู้และภาคความสามารถ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผ่านการทดสอบหางานทำได้ง่ายขึ้น  มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับ ฝีมือ

yesจัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นการทดสอบฝีมือแรงงาน ตามสาขาอาชีพที่กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยแบ่งเกณฑ์การทดสอบออกเป็น 3 ระดับ คือ

cheekyการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 1 (ชั้นต้น)

cheekyการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 2 (ชั้นกลาง)

cheekyการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานชั้น 3 (ชั้นสูง)

โดยใช้เกณฑ์การวัดผลการปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี ผู้ผ่านการทดสอบแต่ละระดับจะได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงาน

yesการทดสอบมาตรฐานฝีมือรงงานตามมาตรฐานกลาง  เป็นการทดสอบฝีมือคนทำงานที่มีความประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศให้ได้รับการ ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานก่อนที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศหรือผู้ที่ต้อง การใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานไปประกอบการสมัครงานกับนายจ้างในต่างประเทศ  ผู้ผ่านการทดสอบฝีมือแรงงานตามมาตรฐานกลาง  จะได้รับหลักฐานเป็น หนังสือรับรองผลการทดสอบ

yesการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรฐานนายจ้าง  เป็นการจัดระดับฝีมือของลูกจ้างหรือประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่ง  หน้าที่ หรือเงินเดือนตามความเหมาะสมจะต้องใช้วิธีการทดสอบตามลักษณะงานที่นายจ้าง กำหนด  ซึ่งนายจ้างจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทดสอบเอง  อาจจะใช้สถานที่ทดสอบของนายจ้างหรือของรัฐก็ได้  โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือในการกำหนดเกณฑ์วัดผลการทดสอบ


3. การแข่งขันฝีมือแรงงาน

   สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคมีภารกิจในการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงาน ระดับภาค  เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับประเทศต่อไป


4. ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน

วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานสอดคล้องกับทิศ ทางการพัฒนาประเทศ  ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและครอบคลุ่มกำลังแรงงานทุกระดับ โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการที่พัฒนาฝีมือแรงงานได้รับการยกเว้นภาษ๊เงิน ได้ร้อยละร้อยของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545