การแสดงผล

+
-

โครงสร้างหน่วยงานสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 35 เพชรบุรี

 

 

 

 

ฝ่ายบริหารทั่วไป ประกอบด้วย

 

๑) นายชัชชัย      แสงสุริยา ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ (หัวหน้าฝ่าย)
๒) นางสาวจันทร์จิรา       บ่วงราชบพิตร      ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๓) นายกนกชัย ยังกิญจิ ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
๔) นางสาวนันทวรรณ มังวงษ์ ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน

                   

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

๑. งานบริหารบุคคล ข้อมูลบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

๒. การจัดทําแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีและรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจําปี

๓. งานสารบรรณ งานธุรการ งานประชุมสัมมนา และงานเลขานุการ

๔. งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานทะเบียนพัสดุ และครุภัณฑ์

๕. งานอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ

๖. งานประสานและอํานวยการ

๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

กลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ ประกอบด้วย

 

๑) นายชัชชัย      แสงสุริยา       ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ (รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงาน)
๒) นางสาวทัศนีย์        จูน้อย ตำแหน่ง ลูกจ้างชั่วคราวจ้างเหมา

          

 

                          

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

๑.   ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน และความจําเป็นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของกําลังแรงงาน

๒.   แปลงนโยบายระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนงานแผนปฏิบัติการและโครงการ

๓.   จัดทําแผนงานและแนวทางการพัฒนากําลังแรงงาน ประสานแผนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และแผนการฝึกอาชีพ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน  และบูรณาการการทำงานแบบครบวงจรภายในจังหวัด

๔.   เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการฝีมือแรงงาน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลสถิติและรายงานผล

๕.   ดําเนินการ และกํากับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

๖.   ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงาน และประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.)

   กํากับดูแล ประเมิน และติดตามผลการประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงานการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการรับรองความรู้ความสามารถ

๘.   ดําเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ จัดทําคําของบประมาณประจําปี  งานแผนงานและประเมินผล จัดทําแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ

๙.   กํากับ ดูแล ติดตาม รวบรวมงานตามคํารับรองการปฏิบัติราชการและงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน

๑๐. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 


 

กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย

 

๑) นางสาวฉันทนา      คำมี ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มงาน)
๒) นางสาวภาวิณี  แก้วคำ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานปฏิบัติการ
๓) นายพนม  อินทร์ภู่มะดัน      ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ช๓
๔) นายจักรเพชร จุลพรหม ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ช๓
๕) นายชัยวิชิต  ศงสนันทน์ ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ช๒
๖) นางสาวสาวิตรี ทัศนา นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๗) นางสาวสุชาวดี แดงโชติ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๘) นางสาวชลธิชา         พ่วงอำไพ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน

               

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

๑.   จัดการฝึกอบรมให้เป็นไปตามกฎหมายกําหนด

๒.   ดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่กําลังแรงงานและสถานประกอบการจะได้รับตามมาตรา 34 และที่เกี่ยวข้อง

๓.   อํานวยความสะดวกให้คําแนะนําด้านการจัดการฝึกอบรมแก่กําลังแรงงาน ประชาชน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสถานประกอบการ

๔.   ดําเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับรองการสําเร็จการฝึกอบรม

๕.   ให้คําแนะนําปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกําลังแรงงานและสถานประกอบการเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน

๖.   ประสานความร่วมมือในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมภารกิจหน่วยงานทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน กลุ่ม องค์กร ชมรม ฯลฯ

๗.   ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความสามารถ ต่อการเป็นผู้จัดการฝึกวิทยากร และผู้บริหารการฝึก

๘.   เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของหน่วยงาน รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชน  และผู้สนใจในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

๙.   จัดระบบงานบัญชีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดและเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน

๑๐.  จัดทํารายงาน – ส่งรายงานทางบัญชีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลา และตรวจสอบ ความเคลื่อนไหวงานทางบัญชีกองทุนพร้อมบันทึก ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

๑๑.  ตรวจสอบเร่งรัดการชําระหนี้ และติดตามให้บุคคล นิติบุคคล  มาดำเนินการชำระหนี้ ตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการทางกฎหมายกรณีเป็นหนี้สูญ หรือฟ้องชําระหนี้

๑๒.  ดําเนินการตรวจสอบจัดทําแผนการตรวจสอบ  ให้คำแนะนำสถานประกอบการ เพื่อให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนา ฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

๑๓.  จัดทําแฟ้มทะเบียนสถานประกอบกิจการโดยจําแนกประเภทตามลักษณะข้อเท็จจริง เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น และตรวจสอบ

๑๔.  รายงานผลการตรวจสอบสถานประกอบการที่ดําเนินการครบถ้วนถูกต้องและที่ไม่ถูกต้องให้หน่วยงานทราบ

๑๕.  นําเสนอปัญหาข้อมูลที่เกิดจากการเข้าตรวจสอบ

๑๖.  ตรวจรับรองข้อมูลสถานประกอบการ จัดลำดับเลขที่บัญชีกองทุนตามระเบียบปฏิบัติ ของหน่วยงาน

๑๗.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย


 
 

 

กลุ่มงานมาตรฐานฝีมือแรงงานและรับรองความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย

   

๑) นายฉัตรชัย ภู่ฉ่ำ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการพิเศษ  (ผู้อำนวยการกลุ่มงาน)
๒) นางสาวณัฐสุดา      อังกินันทน์      ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ส๔
๓) นายภัทรพงศ์ บุรีแก้ว ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๔) นายปารัช พินิจนาม ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงานเทคนิค
๕) นางสาวน้ำค้าง ทองไทร พนักงานประจำสำนักงาน

                    

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

๑.   การกํากับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ดังนี้

- พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557 ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน การประเมิน และการรับรองความรู้ความสามารถ

- พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ที่เกี่ยวข้องกับสถานทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศ

- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551  ที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ

 - กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒.  การส่งเสริมและประสานงานให้คําปรึกษาแนะนํา ดังนี้

- ส่งเสริมการจัดทําและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพจัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพจัดตั้งสถานทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมและให้คําปรึกษาแนะนําในการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมการแข่งขันฝีมือแรงงานให้กับสถานประกอบกิจการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมและสนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับมาตรฐานฝีมือแรงงานรวมทั้งประสานการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการและองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนนํามาตรฐานฝีมือแรงงานไปใช้ในระบบพัฒนากําลังแรงงานและการจ้างงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ

- ส่งเสริม สนับสนุน  และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ

- สํารวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาอาชีพตําแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่มีอยู่ในสถานประกอบการ

- ประสานกับหน่วยงานของรัฐ สถานประกอบการเอกชน หรือองค์กรอาชีพเพื่อขอรับการสนับสนุนการดําเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้

๓.  การดําเนินการ ดังนี้

- จัดให้มีการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการและสร้างผู้ชํานาญการเฉพาะทางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดให้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดให้มีการทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดทําสมุดประจําตัวและบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ตรงตามความจริง

- ประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ประเมิน

- พิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายจ้างงานผู้มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ

- รับและตรวจสอบการขออุทธรณ์

- รายงานและเก็บรักษาข้อมูล

- ตรวจและเปรียบเทียบปรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

- ให้คําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับการรับรองความรู้ความสามารถผู้ประกอบอาชีพควบคุม

- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๔.  ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล  นโยบายกระทรวงแรงงาน นโยบายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นโยบายจังหวัดและกลุ่มจังหวัดหรือที่ได้รับมอบหมาย