วิสัยทัศน์
พัฒนาทักษะ สร้างความคิด เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับแรงงาน
ภารกิจ
ภารกิจที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค ๑ สมุทรปราการ ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป
- การฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน หมายถึงการฝึกอาชีพที่จัดขึ้นให้แก่แรงงานใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้มีความรู้ ความสามารถ และนิสัยอุตสาหกรรม ซึ่งตามระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ว่าด้วยการฝึกเตรียมเข้าทำงาน พ.ศ. ๒๕๓๘ กำหนดให้ผู้สมัครเป็นแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยกำหนดให้มีการฝึก ๒ ส่วนคือ
ส่วนแรก เป็นการฝึกภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเบื้องต้นในสถาบัน มีระยะเวลาการฝึก ๒ - ๑๒ เดือน ในสัดส่วนภาคทฤษฎีร้อยละ ๒๐ และภาคปฏิบัติร้อยละ ๘๐
ส่วนที่สอง คือการฝึก ในกิจการหรือในสถานประกอบการ ใช้เวลาการฝึก ๑ - ๔ เดือน เพื่อให้ผู้รับการฝึกได้ปฏิบัติงานจริง และเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เมื่อผ่านการฝึกอบรมทั้ง ๒ ส่วนผู้จบฝึกจะได้รับวุฒิบัตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน
- การฝึกอบรมหลักสูตรฝึกยกระดับ การฝึกอบรมให้กับแรงงานที่มีทักษะพื้นฐานอยู่แล้ว เพื่อให้แรงงานเหล่านี้ได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม ๑๒ – ๘๐ ชั่วโมง เมื่อผ่านการฝึกอบรม ผู้จบฝึกจะได้รับวุฒิบัตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน
- การฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอาชีพเสริม การฝึกอบรมให้กับแรงงานที่มีทักษะพื้นฐานอยู่แล้ว เพื่อให้แรงงานเหล่านี้ได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม ๖ – ๘๐ ชั่วโมง เมื่อผ่านการฝึกอบรม ผู้จบฝึกจะได้รับวุฒิบัตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน
- การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หมายถึงการทดสอบความสามารถของช่างฝีมือตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่กำหนด แต่ละประเภท โดยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
1. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ชั้น ๑ ( ชั้นต้น )
2. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ชั้น ๒ ( ชั้นกลาง )
3. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ชั้น ๓ ( ชั้นสูง )
ผู้ผ่านการทดสอบแต่ละระดับ จะได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงาน