การแสดงผล

+
-

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมองค์กร ภารกิจหน่วยงาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategy)
1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ตามจุดเน้นของพื้นที่
2) ขับเคลื่อนแผนการพัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงานให้มีมาตรฐานรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

 

วิสัยทัศน์สพร. 9 พิษณุโลก

พัฒนาทักษะคนทำงานทุกระดับและผู้ประกอบกิจการ

ให้มีผลิตภาพสูง สู่ ไทยแลนด์ 4.0

Develop high productivity worker

skill of all levels and entrepreneurs

towowards Thailand 4.0

 

พันธกิจ (Mission)

1.พัฒนาศักยภาพแรงงานสู่มาตรฐานสากลและแข่งขันได้

2.พัฒนาระบบการพัฒนาฝีมือแรงงานรองรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาด้านฝีมือแรงงาน

4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิาพ

เป้าประสงค์ (Goals)

1.ตลาดแรงงานในพื้นที่ มีระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานตามความต้องการ

2.กำลังแรงงาน ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะรองรับไทยแลนด์ 4.0

 

วัฒนธรรมองค์กร (Cultures)
H – Hearing รับฟังความคิดเห็น
E – Effectiveness ประสิทธิผล
A – Accountability รับผิดชอบ
R – Reform เปลี่ยนแปลง
T – Trust ซื่อสัตย์ สุจริต

 

ค่านิยมองค์กร (Values)
“รอบรู้ – สร้างสรรค์ – พัฒนา- ทีมงาน”

 

ภารกิจหลัก บทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 9 พิษณุโลก เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลาง ระดับกองมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

ด้านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

1.ฝึกอบรมให้แก่แรงงานใหม่ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่ออาชีพในขั้นตอนขั้นพื้นฐานของสาขาอาชีพต่างๆ ให้มีความพร้อมเข้าสู่คลาดแรงงานในฐานะแรงงานฝีมือ

2.ฝึกอบรมให้แก่ผู้ว่างงาน หรือแรงงานที่มีงานทำแล้ว แต่มีความประสงค์จะเปลี่ยนอาชีพใหม่หรือประกอบอาชีพเพิ่มเติม

3.ฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่มีงานทำอยู่แล้วให้มีความรู้ความสามารถและทักษะฝีมือเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ปฏิบัติอยู่หรือสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อหนุนงานที่ทำอยู่ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานสตรีเยาวชน คนพิการและกลุ่มเป้าหมายพิเศษตามนโยบายของกระทรวงแรงงานและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

ด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน

1.จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

2.ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

3.ส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงาน

ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือเป็นการบรูณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อร่วมกันพัฒนาฝีมือแรงงานลดข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคคลากรข้อมูลที่จำเป็น รวมทั้งพัฒนาบุคคลากรฝึกและหลักสูตรให้ทันต่อเทคโนดลยีที่ทันสมัยผ่านกลไลของคณะอนุรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานและประสานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.)