การแสดงผล

+
-

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

  

กลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน  มีหน้าที่ดังนี้

                    1. จัดการฝึกอบรมให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

                    2. ดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่กำลังแรงงาน และสถานประกอบการจะได้รับตามมาตรา 34
และที่เกี่ยวข้อง

                    3. อำนวยความสะดวกให้คำแนะนำด้านการจัดการฝึกอบรมแก่กำลังแรงงาน ประชาชน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสถานประกอบกิจการ

                    4. ดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับรองการสำเร็จการฝึกอบรม

                    5. ให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกำลังแรงงาน และ
สถานประกอบการ เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน

                    6. ประสานความร่วมมือในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมภารกิจหน่วยงานทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน กลุ่ม องค์กร ชมรม ฯลฯ

7. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความสามารถ ต่อการเป็นผู้จัดการฝึก วิทยากร และผู้บริหารการฝึก

                    8. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของหน่วยงาน รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชน และผู้สนใจในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

                    9. ตรวจสอบเร่งรัดการชำระหนี้ และติดตามให้บุคคล นิติบุคคล มาดำเนินการชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทางกฎหมายกรณีเป็นหนี้สูญ หรือฟ้องชำระหนี้

                    10. ดำเนินการตรวจสอบจัดทำแผนการตรวจสอบ ให้คำแนะนำสถานประกอบกิจการ เพื่อให้
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545

                    11. จัดทำแฟ้มทะเบียนสถานประกอบกิจการโดยจำแนกประเภทตามลักษณะข้อเท็จจริง
เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น และตรวจสอบ

                    12. รายงานผลการตรวจสอบสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องและที่ไม่ถูกต้อง
ให้หน่วยงานทราบ

                    13. นำเสนอปัญหาข้อมูลที่เกิดจากการเข้าตรวจสอบ

                    14. ตรวจรับรองข้อมูลสถานประกอบกิจการ จัดลำดับเลขที่บัญชีกองทุนตามระเบียบของหน่วยงาน

                    15. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มงานมาตรฐานฝีมือแรงงานและรับรองความรู้ความสามารถ  มีหน้าที่ดังนี้

                    1. การกำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ดังนี้

                        - พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน การประเมิน และการรับรองความรู้ความสามารถ

- พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนงาน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
ที่เกี่ยวข้องกับสถานทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ

- พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน

- กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

                    2. การส่งเสริมและประสานงานให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้

- ส่งเสริมการจัดทำและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพจัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงาน
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมหน่วยภาครัฐ ภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพจัดตั้งสถานทดสอบฝีมือคนหางาน เพื่อไปทำงานในต่างประเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมและให้คำปรึกษาแนะนำในการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมการแข่งขันฝีมือแรงงานให้กับสถานประกอบกิจการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- ส่งเสริมและสนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมทั้งประสานการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ                                                

- ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ

- ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ

- สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่มีอยู่ในสถานประกอบการ

- ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบการเอกชน หรือองค์กรอาชีพเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้

                    3. การดำเนินงาน ดังนี้

- จัดให้มีการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการและสร้างผู้ชำนาญการเฉพาะทางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดให้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ                                             

- จัดให้มีการทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดทำสมุดประจำตัวและบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ตรงตามความจริง

- ประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ประเมิน

- พิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายจ้างงานผู้มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ

- รับและตรวจสอบการขออุทธรณ์

- รายงานและเก็บรักษาข้อมูล

- ตรวจและเปรียบเทียบปรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

- ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการรับรองความรู้ความสามารถประกอบอาชีพควบคุม

- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                    4. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงแรงงานนโยบายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นโยบายจังหวัดและกลุ่มจังหวัดหรือที่ได้รับมอบหมาย

                    5. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

กลุ่มงานแผนงานและสารสนแทศ  มีหน้าที่ดังนี้

                    1. ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน และความจำเป็นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของ
กำลังแรงงาน

                    2. แปลงนโยบายระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนงาน แผนปฏิบัติการและโครงการ

                    3. จัดทำแผนงานและแนวทางการพัฒนากำลังแรงงาน ประสานแผนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
และแผนการฝึกอาชีพ ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน และบูรณาการทำงานแบบครบวงจรภายในจังหวัด

                    4. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการฝีมือแรงงาน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลสถิติและการรายงานผล

                    5. ดำเนินการ และกำกับดูแลให้เป็นตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

                    6. ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงาน และประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ)

                    7. กำกับดูแล ประเมิน และติดตามผลการประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการรับรองความรู้ความสามารถ

                    8. ดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ จัดทำคำของบประมาณประจำปีงานแผนงานและประเมินผล จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ

                    9. กำกับ ดูแล ติดตาม รวบรวมงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน

                    10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ดังนี้

                    1. งานบริหารบุคคล ข้อมูลบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

                    2. การจัดทำแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี

                    3. งานสารบรรณ งานธุรการ งานประชุมสัมมนา และงานเลขานุการ

                    4. งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ ทะเบียนพัสดุ และครุภัณฑ์

                    5. งานอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ

                    6. งานประสานและอำนวยการ

                    7. จัดระบบงานบัญชีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และเงื่อนไขหลักเกณฑ์
ของหน่วยงาน

                    8. จัดทำรายงาน-ส่งรายงานทางบัญชีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาและตรวจสอบ ความเคลื่อนไหวทางบัญชีกองทุนพร้อมบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

                    9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย