ข้อมูลทั่วไป
กองวิเทศสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายในของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแยกออกจากกองแผนงานและสารสนเทศ คำสั่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ ๑๖๗/๒๕๕๒ เรื่อง ตั้งกองวิเทศสัมพันธ์ จัดตั้งวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรม
๒. จัดทำโครงการ แผนงาน และประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๓. พิจารณากลั่นกรองการร่างและแปลสัญญา และข้อตกลงระหว่างกรมกับต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์และเสนอความเห็น
๔. พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครรับทุนต่างประเทศและประสานงานการจัดส่งผู้แทนไปร่วมประชุม ศึกษา อบรม ดูงานต่างประเทศ
๕. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการความร่วมมือต่าง ๆ
๖. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้การบริหารงานของกองวิเทศสัมพันธ์เกิดความคล่องตัวและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองวิเทศสัมพันธ์จึงแบ่งการบริหารงานออกเป็น ๓ ฝ่าย และ ๑ งาน ได้แก่
๑. ฝ่ายประสานความร่วมมือทวิภาคี มีหน้าที่ความรับผิดชอบคือ
(๑) ประสานและดำเนินความร่วมมือกับประเทศ/องค์กรต่างประเทศในกรอบทวิภาคี ได้แก่
- องค์กรประเทศญี่ปุ่น เช่น JICA, JAVADA, IM Japan
- ประเทศเกาหลี เช่น HRD Korea, KOICA
- ประเทศสิงคโปร์ เช่น CSEP, STEER
- ประเทศในกลุ่ม CLMV
(๒) ประสานงานเรื่องเขตการค้าเสรี FTA เช่น JTEPA, TAFTA , TNZCEP
(๓) จัดศึกษาดูงาน/ประชุมหารือกับผู้แทนต่างประเทศ/องค์กรต่างประเทศ
(๔) จัดทำข้อมูลการเข้าเยี่ยมคารวะผู้บริหารของผู้แทน/หน่วยงาน/องค์กรต่างประเทศ
๒. ฝ่ายประสานความร่วมมือพหุภาคี มีหน้าที่ความรับผิดชอบคือ
(๑) ประสานความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคี เช่น APEC, ASEM, ASEAN, GMS, IMT - GT
(๒) ประสานความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ILO, OECD, UN, UNDP, ADB, IOM
(๓) ประสานงานกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ
(๔) จัดศึกษาดูงาน/ประชุม/สัมมนาระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๕) รวมข้อมูล วิเคราะห์และติดตามผลความร่วมมือระดับพหุภาคีและจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
๓. ฝ่ายแผนงานและติดตามประเมินผล มีหน้าที่ความรับผิดชอบคือ
(๑) การจัดทำคำของบประมาณประจำปี
(๒) การจัดทำการประเมินการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(๓) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานตามภารกิจในภาพรวมของหน่วยงาน
(๔) การเวียนทุนต่างประเทศ
(๕) การควบคุมภายในของหน่วยงาน
(๖) การรายงานผลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
(๗) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
(๘) การจัดทำแบบฟอร์มราชการ ๒ ภาษา ในคู่มือประชาชน
(๙) โครงการสร้างทักษะแรงงาน/วิชาชีพ (ลาว/กัมพูชา/เมียนมา)
๔. งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานทั่วไปของหน่วยงาน
ภารกิจกองวิเทศสัมพันธ์
ภารกิจของหน่วยงาน ตามโครงสร้างการแบ่งหน่วยงานภายในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๙) กองแผนงานและสารสนเทศ กลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์และโครงการความร่วมมือ คือ
๑. ติดต่อและประสานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
๒. งานวิเทศสัมพันธ์และประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับอาเซียนและระดับนานาชาติ
๓. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรมฯ
๔. ประสานความร่วมมือด้านวิชาชีพและความร่วมมือระหว่างประเทศ
๕. พิจารณากลั่นกรองการร่างและแปลสัญญาและข้อตกลงระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับต่างประเทศ
๖. วิเคราะห์และเสนอความเห็นอนุสัญญาและข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
๗. พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครรับทุนต่างประเทศและประสานงานการจัดส่งผู้แทนไปร่วมประชุม ศึกษา อบรม และดูงานยังต่างประเทศ
๘. แปล รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล/บทความทางวิชาการด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานจากต่างประเทศ
๙. จัดทำข้อมูลด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อตอบข้อซักถามแก่หน่วยงานต่างชาติทั้งในและต่างประเทศ
๑๐. จัดการอบรม ประชุม สัมมนานานาชาติ และเข้าร่วมประชุม/สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับองค์การระหว่างประเทศ
๑๑. ประสานและอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างประเทศที่มาปฏิบัติงานภายใต้โครงการความร่วมมือและจัดทำรายการดูงานแก่ชาวต่างประเทศ
๑๒. จัดทำโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑๓. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือต่าง ๆ
๑๔. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
๑. เพื่อขับเคลื่อนภารกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่างประเทศ
๒. เพื่อวางแผนและดำเนินงานด้านต่างประเทศให้สอดคล้องและบรรลุเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ระดับกรมและกระทรวง
๓. เพื่อให้ภารกิจการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานของหน่วยงานให้ได้มาตรฐานสากล