การแสดงผล

+
-

โครงสร้างหน่วยงานสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 35 เพชรบุรี

 

 

 

 

งานบริหารทั่วไป ประกอบด้วย

                   

๑. นางสาวรุ่งทิวา  เผ่าวณิช         ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ  (หัวหน้าฝ่าย)
๒. นางสาวจันทร์จิรา  บ่วงราชบพิตร   ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๓. นางสาวนันทวรรณ  มังวงษ์      ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๔. นายกนกชัย  ยังกิญจิ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
๕. นางสาวชลธิชา  พ่วงอำไพ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน

                                      

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          ๑. ศึกษา วิเคราะห์แนวนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการแรงงาน แนวทางด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานตามแผนงานและกรอบเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
              เพื่อพิจารณาจักทำแผนการใช้งบประมาณ

          ๒. การจัดทำของบประมาณแผนการใช้งบประมาณและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
          ๓. การบริหารแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานฯ การตรวจสอบแผนงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายและรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
               ตามวาระงาน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับกรม

          . การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และติดตามรวบรวมตัวชี้วัดหน่วยงาน
          ๕. การบริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
          ๖. งานการเงินและบัญชี
          ๗. งานอาคาร สถานที่และยานพาหนะ
          ๘. จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และพัสดุในภาพรวมของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน
          ๙. งานการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือภารกิจของหน่วยงาน
          ๑๐. การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจและข้อกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๗ ในส่วนที่ได้รับมอบหมายได้แก่

                            (๑) จัดระบบงานบัญชีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของระเบียบที่กำหนด
                            (๒) จัดทำรายงาน การส่งรายงานทางบัญชีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาและตรวจสอบความเคลื่อนไหวงานทางบัญชีกองทุนพร้อมบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
                            (๓) จัดระบบงานบัญชีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของระเบียบที่กำหนด
                            (๔) การตรวจสอบเร่งรัดการชำระหนี้ และติดตามให้บุคคล นิติบุคคลมาชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กฎหมายระบุไว้ รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อกำหนดซึ่งตราไว้ตามกฎหมาย

          ๑๑. การกำกับดูแล การตรวจติดตามในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงานตามหมวดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
          ๑๒. การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ(Data Center) หรือระบบอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและข้อสั่งการ
          ๑๓. จัดทำคำรับรองของการปฏิบัติราชการ กำกับและติดตามตัวชี้วัดในการปฏิบัิตงานของฝ่าย
          ๑๔. บริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของระดับฝ่าย
          
๑๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 

 

 

ฝ่ายแผนงานและประเมินผล ประกอบด้วย

          

๑. นายชัชชัย  แสงสุริยา        ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ (หัวหน้าฝ่าย)
๒. นางสาวสุชาวดี  แดงโชติ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
. นางสาวทัศนีย์  จูน้อย    ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล   
   

                            

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          ๑. ศึกษา วิเคราะห์แนวนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการแรงงาน ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน แผนพัฒนาหรือยุทธศาสตร์จังหวัด
              แผนและกรอบเป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ รวมถึงการสำรวจข้อมูลความต้องการจากคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพประจำจังหวัดเพชรบุรี
              หรือบทสรุปการวิจัยสถานการณ์ความต้องการของตลาดแรงงานภายในจังหวัด ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต่อการดำเนินงานพัฒนาฝีมือแรงงาน
          ๒. จัดทำแผนการปฏิบัติงานการพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปีงบประมาณของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเพชรบุรี และขออนุมัติใช้ในการปฏิบัติงานโดยแผนดังกล่าว
                  จะต้องรองรับกับแผนและกรอบเป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปีงบประมาณ ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณรายไตรมาส

                  รวมถึงสอดคล้องกับข้อมูลต่างๆ ตามข้อ ๑.
          ๓. การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ(Data Center) ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านแผนการปฏิบัติงานการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาพรวมของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเพชรบุรี
          ๔. การบริหารแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานฯ การตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน การรายงานผลปฏิบัติงานตามวาระงาน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับกรม
          ๕. สำรวจและรวบรวมข้อมูลรายละเอียดพื้นฐานที่จำเป็นต่อกสนจัดทำของบประมาณ คำขอครุภัณฑ์ประจำปี
          ๖. การประชุมคณะกรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพประจำจังหวัดเพชรบุรีและการจัดประชุมหรือสมมนาร่วมเครือข่ายเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาฝีทิอแรงงานของจังหวัดเพชรบุรี
          ๗.   การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจและข้อกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๗ ในส่วนที่ได้รับมอบหมายได้แก่

                            (๑) จัดระบบคำรับรองของสถานประกอบกิจการ จัดลำดับเลขที่บัญชีกองทุนตามระเบียบปฏิบัติ การจัดทำระเบียบสถานประกอบกิจการโดยจำแนกประเภทตามลักษณะข้อเท็จจริง
                                  เพื่อการสืบค้นและการตรวจสอบ

                            (๒) การพิจารณารับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
                            (๓) จัดทำระบบการสื่อสารเพื่อสร้างการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับสถานประกอบกิจการ

          ๘. รายงานผลการปฏิบัติงานหรือการรวบรวมข้อมูลอื่นๆ ให้สำนักงานแรงงานจังหวัดเพชรบุรี หรือหน่วยงานอื่นๆรวมถึงสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินตามวาระ หรือตามการร้องขอ
          ๙. ร่วมดำเนินการด้านกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือและสมรรถนะแรงงานที่มีผลในการสร้างการรับรู้ต่อสังคม ผ่านกิจกรรมศูนย์เทิดไท้องค์ราชัน กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่และกิจกรรมอำเภอยิ้ม
          ๑๐. กำกับดูแล การตรวจติดตามในการดำเนินงานประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงานตามหมวดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
          ๑๑. จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และพัสดุในภาพรวมของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและพร้อมรับการตรวจสอบ รวมถึง การสำรวจความ้องการในการใช้พัสดุ ครุภัณฑ์
          ๑๒. จัดทำคำรับรองของการปฏิบัติราชการ กำกับและติดตามตัวชี้วัดในการปฏิบัิตงานของฝ่าย
          ๑๓. บริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของระดับฝ่าย
          ๑๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 

 

ฝ่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย

       

๑. นายฉัตรชัย  ภู่ฉ่ำ   ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการพิเศษ (หัวหน้าฝ่าย)
๒. นายจิรวัฒน์  วงษ์สุทักษ์    ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ 
๓. นางสาวภาวิณี  แก้วคำ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานปฏิบัติการ
๔. นายพนม  อินทร์ภู่มะดัน  ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ระดับ ๓
๕. นายจักรเพชร จุลพรหม   ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ช ๓
๖. นายชัยวิชิต   ศงสนันทน์ ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงาน ช ๒
๗. นางสาวสาวิตรี ทัศนา ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน

           

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          ๑. จัดทำแผนงานการพัฒนาทักษะ ฝีมือและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับแนวนโยบายทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดโดยแผนดังกล่าวจะต้องรองรับเป้นไปตามข้อกำหนดของแผนงาน
              และกรอบเป้าหมายการพัฒนาฝีมือแรงงานประจำปีงบประมาณ
         
 ๒. ดำเนินการฝึกทักษะฝีมือแรงงานตามแผนงานการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึง กิจกรรมการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ การตรวจสอบติดตามผล
              การจัดทำการจัดเก็บแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและผลสมัฤิทธิ์ของการฝึกอบรมตามข้อสั่งการและตามที่กฎหมายระบุ รวมถึงการการบริหารแผนปฏิบัติงานประจำปี
              ให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายและห้วงเวลา ที่กำหนด
          ๓. ส่งเสริม หรือจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรการฝึกของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้จัดการฝึก การบริหารสถานการฝึกและวิทยากร
          ๔. จัดทำ(ร่าง) หลักสูตร การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตร รายวิชา ทดลองใช้งานและประเมินผลหลักสูตรขั้นต้น และขออนุมัติเพื่อใช้ในการฝึกอบรม
          ๕. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานและสมรรถนะของกำลังแรงงานให้สูงขึ้น เพื่อรองกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพลวัตรของประเทศไทย
               เช่น การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริม การสาธิตอาชีพ
  การให้ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่างๆเพื่อสร้างการรับรู้ต่อสังคม
          ๖. สรรหาและคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกให้ตรงกับคุณสมบัติตามข้อกำหนด
          ๗. อำนวยการ นิเทศการฝึก และประเมินผลการดำเนินการตามกระบวนงานและมาตรฐานการฝึก รวมการประเมินประสิทธิภาการปฏิบัติงานของครูผู้ฝึกและวิทยากร

          ๘. การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ(Data Center) ที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนาฝีมือแรงงาน
          ๙. การรายงานผลการดำเนินงาน  การจัดทำหนังสือรับรองผู้ผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมในระบบออนไลน์และ/หรือระบบเอกสาร การจัดทำทะเบียนควบคุมหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์
               การบันทึกข้อมูล การเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข การเก็บรักษาข้อมูลในการฝึกอบรม
          ๑๐. จัดทำแผนงานการดำเนินการ การกำกับดูแล อำนวยการและการตรวจติดตามรวมถึงการรายงานผลที่เกี่ยวข้องในปฏิบัติงานประกันคุณภาพ
          ๑๑.
ร่วมดำเนินการตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
          ๑๒
. จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และพัสดุในภาพรวมของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและพร้อมรับการตรวจสอบ รวมถึง การสำรวจความ้องการในการใช้พัสดุ ครุภัณฑ์
          
๑๓. จัดทำคำรับรองของการปฏิบัติราชการ กำกับและติดตามตัวชี้วัดในการปฏิบัิตงานของฝ่าย
          ๑๔. บริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของระดับฝ่าย
          
๑๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 
 

 

ฝ่ายมาตรฐานฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย

                     

๑. นางสาวรุ่งทิวา  เผ่าวณิช        ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ  (หัวหน้าฝ่าย)
. นางสาวณัฐสุดา อังกินันทน์  ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ส ๔
๓. นายปารัช     พินิจนาม   ตำแหน่ง ครูฝึกฝีมือแรงงานเทคนิค

  

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          งานมาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน

          ๑. จัดทำแผนงานและการบริหารแผนปฏิบัติงานประจำปัให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานตามโครงการ เป้าหมาย ผลผลิตและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่


                            (๑) การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                            (๒) การพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ


          ๒. การส่งเสริม สนับสนุนและกลั่นกรองสถานประกอบกิจการและหน่วยงานภายนอกเพื่อพิจารณาอนุญาตการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
          ๓. ส่งเสริม การกลั่นกรองบุคลากรของหน่วยงาน บุคคลภายนอกเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้ทดสอบสำหรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
          ๔
. ดำเนินการสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน การแข่งขันฝีมือแรงงาน เช่น การประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่างๆ
               เพื่อสร้างการรับรู้ต่อสังคม รวมถึงการสรรหาเป้าหมายในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

          ๕. การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ(Data Center) ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
          ๖. การรายงานผลการปฏิบัติงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน การจัดทำหนังสือรับรองผู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในระบบออนไลน์และ/หรือระบบเอกสาร การจัดทำทะเบียนควบคุมหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านตามเกณฑ์
              การบันทึกข้อมูล การเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข การเก็บรักษาข้อมูลในการปฏิบัติงาน

          ๗. จัดเก็บแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบหรือการฝึกอบรมในโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
          ๘. จัดทำแผนงาน การกำกับดูแล อำนวยการและการติดตามในการปฏิบัติงาน ตามระบบประกันคุณภาพการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงานตามหมวด
               หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ๙. จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และพัสดุในภาพรวมของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและพร้อมรับการตรวจสอบ รวมถึง การสำรวจความ้องการในการใช้พัสดุ ครุภัณฑ์
          
๑๐. จัดทำคำรับรองของการปฏิบัติราชการ กำกับและติดตามตัวชี้วัดในการปฏิบัิตงานของฝ่าย
          ๑๑. บริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของระดับฝ่าย
          
๑๒. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

 

 

 

ฝ่ายประเมินและรับรองความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย

                             

๑. นายชัชชัย  แสงสุริยา      ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ  (หัวหน้าฝ่าย)
๒. นายภัทรพงศ์  บุรีแก้ว    ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๓. นางสาวน้ำค้าง   ทองไทร  ตำแหน่ง พนักงานประจำสำนักงาน
   

                   

มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          งานประเมินและรับรองความรู้ความสามารถแรงงาน

          ๑. จัดทำแผนงานและการบริหารแผนปฏิบัติงานประจำปัให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานตามโครงการ เป้าหมาย ผลผลิตและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่


                            (๑) การรับรองความรู้ความสามารถ
                            (๒) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ
                            (๓) การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ

          ๒. การส่งเสริม สนับสนุนและกลั่นกรองสถานประกอบกิจการและหน่วยงานภายนอกเพื่อพิจารณาอนุญาตการจัดตั้งศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ
          ๓. ส่งเสริม การกลั่นกรองบุคลากรของหน่วยงาน บุคคลภายนอกเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้ประเมินในกระบวนงานการรับรองความรู้ความสามารถ

          ๔. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานประกอบกิจการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ
          ๕. ดำเนินการสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการประเมินและการรับรองความรู้ ความสามารถ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ เช่น การประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลทางวิชาการต่อ
               สาธารณะผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อสังคม รวมถึงการสรรหาเป้าหมายในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

          ๖. การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศ(Data Center) ที่เกี่ยวข้องกับการผฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
          ๗. การรายงานผลการปฏิบัติงานด้านการรับรองความรู้ความสามารถ, การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพและโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ การจัดทำหนังสือรับรองผู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในระบบออนไลน์และ/
               หรือระบบเอกสาร การจัดทำทะเบียนควบคุมหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านตามเกณฑ์ การบันทึกข้อมูล การเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข การเก็บรักษาข้อมูลในการปฏิบัติงาน

          ๘. จัดเก็บแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ของการรับรองความรู้ความสามารถ
          ๙. จัดทำแผนงาน การกำกับดูแล การให้คำแนะนำ การตรวจติดตามเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามประกาศ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฝึกอบรม การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
               การรับรองความรู้ความสามารถ รวมถึงพิจารณาเทียบปรับความผิดตามการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๗ ในกรณีจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด

          ๑๐. จัดทำแผนงาน การกำกับดูแล อำนวยการและการติดตามในการปฏิบัติงาน ตามระบบประกันคุณภาพของระบวนการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถละการประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงานตามหมวด
                 หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          ๑๑. จัดทำแผนงาน และดำเนินการด้านกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือและสมรรถนะแรงงาน ตามโครงการ กิจกรรมศูนย์เทิดไท้องค์ราชัน กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่และกิจกรรมอำเภอยิ้ม
          ๑๒. จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และพัสดุในภาพรวมของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและพร้อมรับการตรวจสอบ รวมถึง การสำรวจความ้องการในการใช้พัสดุ ครุภัณฑ์
          
๑๓. จัดทำคำรับรองของการปฏิบัติราชการ กำกับและติดตามตัวชี้วัดในการปฏิบัิตงานของฝ่าย
          ๑๔. บริหารงานบุคคล และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของระดับฝ่าย
          
๑๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย