การแสดงผล

+
-

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ค่านิยม / เป้าประสงค์ / วัฒนธรรมองค์กร / ภารกิจ

วิสัยทัศน์

  • มุ่งมั่นพัฒนาฝีมือแรงงานสู่มาตรฐานสากล

 

พันธกิจ

  • ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานไทย

  • พัฒนาระบบรองรับมาตรฐานฝีมือแรงงานสู่มาตรฐานสากล

  • พัฒนาและทดสอบกำลังแรงงานให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

  • พัฒนากำลังแรงงานให้มีสมรรถนะเพื่อเพิ่มผลิตภาพและรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

 

ค่านิยม

1. มีจิตบริการ

2. พัฒนาต่อเนื่อง

3. พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

 

เป้าประสงค์ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปทุมธานี

1. แรงงานไทยมีความรู้ ความสามารถ มีฝีมือได้มาตรฐานทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

2. ให้บริการฝึกอาชีพที่มีคุณภาพ เพื่อให้แรงงานสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้

3. เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานโดยบูรณาการร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. เพื่อดำเนินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

5. เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และปรับวัฒนธรรมองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

วัฒนธรรมองค์กรศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดปทุมธานี

SMILE

S    = Service mind    = บริการด้วยใจ

M   = Modify            = แก้ไขดัดแปลง

I     = Information    = แจ้งข่าวสาร

L    = Learning          = เพิ่มการเรียนรู้ และ

E    = Easy                = ทำทุกอย่างให้ง่าย

ภารกิจ

ภารกิจการให้บริการ

1. การฝึกอบรม

    1.1  หลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (PRE-employment Training)

         หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือก่อนเข้าทำงานให้แก่ แรงงานใหม่ หรือแรงงานที่จะเข้าสู่การทำงานในตลาดแรงงาน ซึ่งยังไม่มีพื้นฐานด้านอาชีพ เพื่อให้แรงงานมีสมรรถนะการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานแต่ละสาขาอาชีพ ซึ่งดำเนินการฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ตั้งแต่ 280 ชั่วโมง ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,680 ชั่วโมง และฝึกในกิจการอีก 140-560 ชั่วโมง (แล้วแต่สาขาอาชีพ)

    1.2  หลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือ (Upgrade Training)

         หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว หรือผู้ว่างงานที่มีพื้นฐานความรู้ความสามารถและทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่จะเข้าฝึก เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านอาชีพ ด้านการบริหารจัดการ หรือความรู้เสริมอื่นๆ ที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานให้กับแรงงานได้มีศักยภาพการทำงานที่สูงขึ้น ซึ่งดำเนินการฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 240 ชั่วโมง

    1.3  หลักสูตรการฝึกอาชีพเสริม (Re-Training)

         หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว หรือผู้ว่างงานได้พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มเติมความรู้ ความสามารถในสาขาอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ตามปกติ หรือนอกเหนือจากความรู้เดิม และเป็นการ เตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพใหม่ ดำเนินการฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน 480 ชั่วโมง

2. การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

    มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือการวัดฝีมือของผู้ปฏิบัติงานในสาขาอาชีพต่างๆ โดยการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานภาคความรู้ และภาคทักษะ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

    2.1  การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานซึ่งเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี ผู้ผ่านการทดสอบฯ จะได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติมี 3 ระดับ คือ

         ระดับ 1 ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการทำงานปฏิบัติงานภายใต้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้

         ระดับ 2 ผู้ที่มีฝีมือระดับกลางมีความรู้ความสามารถทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ดีและมีประสบการณ์      ในการทำงาน สามารถให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้

         ระดับ 3 ผู้ที่มีฝีมือระดับสูง สามารถวิเคราะห์ตัดสินใจแก้ปัญหา นำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ได้

    2.2  การทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ  เป็นการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสำหรับคนทำงานที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ

    2.3  การทดสอบมาตรฐานตามความต้องการของสถานประกอบการ เป็นการวัดระดับทักษะฝีมือของลูกจ้างในสถานประกอบการ เพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งหน้าที่ หรือเงินเดือน ตามความสามารถโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบตามลักษณะงานเฉพาะของสถานประกอบการ

    2.4  การแข่งขันฝีมือแรงงาน เป็นการประสานงานความร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรต่างๆในการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ระดับภาค) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เข้าแข่งขันฯ ได้แสดงความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือทางด้านช่างอย่างมีมาตรฐาน โดยผู้ชนะการแข่งขันทุกระดับจะเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป

3. การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

    3.1  ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการจดทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน หรือเปิดดำเนินการเป็นศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่สถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ซึ่งสถานประกอบกิจการ จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายนี้ ในด้านการลดหย่อนภาษีเงินได้และสิทธิประโยชน์อื่นๆ

    3.2  ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการ ใช้ระบบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อการพัฒนากำลังแรงงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานใสสาขาต่างๆ ของบุคลากรทุกๆปี เพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณากำหนดตำแหน่งหน้าที่ และอัตราค่าจ้างตามความสามารถ