“เป็นผู้นำในการมุ่งส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงานให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดในระดับจังหวัด”
- พัฒนากำลังแรงงานตามแผนพัฒนาจังหวัด กระทรวง กรม
- แรงงานได้รับการพัฒนาและมีสมรรถนะตามมาตรฐานสากล
- การพัฒนากำลังแรงงานเกิดจากการบูรณาการขององค์กรภาครัฐและเอกชน
กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courage) หมายถึง
- ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
- เสียสละ
- ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใด
ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ (Integrity and Responsibility)หมายถึง
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
- แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน
มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงานองค์การ และต่อการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability) หมายถึง
- ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การให้มีความโปร่งใส
- มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขตของกฎหมาย
ไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination)หมายถึง
- บริการประชาชนด้วยความเสมอภาคเน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการด้วยความมีน้ำใจ เมตตา เอื้อเฟื้อ
มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation) หมายถึง
- ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด เกิดผลดีแก่หน่วยงานและส่วนรวม
- ใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่าเสมือนหนึ่งการใช้ทรัพยากรของตนเอง
- เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่าย
- การให้ความเคารพ ผู้บังคับบัญชา
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตราด มีภารกิจหลักในการให้บริการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กําลังแรงงานในพื้นที่จังหวัดตราดโดยมีการให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมการฝึกอบรม
ฝึกอบรมฝีมือแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในหลักสูตรการฝึกตั้งแต่ ๒-๖ เดือนให้กับประชาชน ผู้ที่ว่างงาน แรงงานใหม่ ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ให้มีความรู้ และทักษะทางวิชาชีพที่สามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือประกอบธุรกิจส่วนตัวเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวต่อไป
สาขาที่เปิดฝึก
-สาขาช่างเชื่อมไฟฟ้า
-สาขาช่างซ่อมเครื่องยนต์
-สาขาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
-ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
-ช่างไฟฟ้า
-ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
-ช่างซ่อมวิทยุและโทรทัศน์
-ช่างก่ออิฐ ฉาบปูน
-สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
-การประกอบอาหารไทย
-ฯลฯ
ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน หลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานและเสริมทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ ในหลักสูตรการฝึกตั้งแต่ ๑๒-๘๐ ชั่วโมง ให้กับผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ที่ต้องการยกระดับความรู้ และทักษะฝีมือของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้ไปพัฒนางานของตนเองหรือประกอบอาชีพเสริม
สาขาที่เปิดฝึก
-การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Word
-การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Power Point
-การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel
-เทคนิคการสอนงาน , เทคนิคการเป็นหัวหน้างาน
- ๙ พฤติกรรม ๙ สู่ความสำเร็จ
-การบำรุงรักษาทวีผลเชิงรวม (TPM)
-การนวดแผนไทย , การนวดไทยสปา
-การประกอบอาหารไทย , ขนมไทย
-การทำดอกไม้ประดิษฐ์
-ฯลฯ
กิจกรรมการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
การบริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการให้บริการในด้านการทดสอบฝีมือช่างในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นการกําหนดความรู้ทักษะที่ผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น ๆ จําเป็นต้องมี รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานตามกําหนดได้แล้วเสร็จ มีคุณภาพทันตามกําหนดเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน สถานประกอบการในการรับพนักงานเข้าทํางาน การเลื่อนระดับ ตลอดจนสามารถนําไปใช้ในการควบคุมคุณภาพการทํางานโดยสถาบันได้ให้บริการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน ๓ ประเภทดังนี้
๑.การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นการทดสอบความรู้ทักษะในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยข้อกําหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการทดสอบเป็นมาตรฐานซึ่งกําหนดจากคณะกรรมการส่วนกลาง มี ๓ ระดับ คือ
๑. ระดับที่ ๑ (ระดับต้น)
๒. ระดับที่ ๒ (ระดับกลาง)
๓. ระดับที่ ๓(ระดับสูง)
๒.การทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศ เป็นการทดสอบความรู้ทักษะในการทํางาน แต่ละประเภท ข้อกําหนด เกณฑ์ และวิธีการทดสอบเป็นไปตามความต้องการของประเทศนั้น ๆ
๓.การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการ เป็นการทดสอบความรู้ ทักษะในการทํางานในแต่ละตําแหน่ง ซึ่งการทดสอบในประเภทนี้ข้อกําหนด เกณฑ์ และวิธีการทดสอบเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยสถานประกอบการสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณากําหนดตําแหน่งหน้าที่ค่าจ้างเงินเดือน ตลอดจนการเลื่อนระดับ
กิจกรรมการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน
๑.ดําเนินการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจดทะเบียนเป็นผู้ดําเนินการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน หรือเปิดดําเนินการเป็นศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕
๒.ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการ ใช้ระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อการพัฒนากําลังแรงงาน โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาต่างๆ ของพนักงาน เพื่อเป็นการพิจารณากําหนดตําแหน่ง หน้าที่ ค่าจ้างเงินเดือน การเลื่อนตําแหน่ง รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบภาคเอกชน