วิสัยทัศน์
องค์การมีธรรมาภิบาล บริหารงานเชิงรุก ส่งเสริมเครือข่าย
พัฒนาฝีมือแรงงานไทยสู่มาตราฐานสากล
พันธกิจ
๑. พัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานและผู้ประกอบกิจการให้มีมาตารฐานฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
๒. เร่งรัดพัฒนากำลังความสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป้าประสงค์
๑. เพื่อยกระดับกำลังแรงงานให้มีมาตราฐานความสามารถที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และมีมาตราฐานฝีมือแรงงานในภาพรวม
๒. เพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดแรงงาน
๓. เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถสูงในการให้บริการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ค่านิยมร่วม
๑. มุ่งมั่นทำงานเป็นทีมเชิงรุก
๒. ใฝ่เรียนรู้
๓. มีจิตบริการ
๔. สานสร้างเครือข่าย
ประเด็นยุทธศาสตร์
๑. กำหนดและพัฒนามาตราฐานฝีมือแรงงานในสาขาวิชาชีพต่างๆ ให้ทัดเทียมมาตราฐานสากล
๒. ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเขตพื้นที่ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
๓.เตรียมพร้อมฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
๔.เป็นศูนย์กลางข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีความทันสมัย
และมีขีดความสามารถสูง
๕. เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรให้เป็นผู้นำในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ภารกิจสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๑๒ สงขลา
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๑๒ สงขลา มีภารกิจที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพของกำลังแรงงานและผู้ประกอบกิจการ เพื่อให้กำลังแรงงานฝีมือได้มาตราฐานในระดับสากลมีความสามารถในการประกอบอาชีพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีความสามารถในการแข่งขันได้ ถือเป้นองค์กรหลักในการดำเนินงานประสานและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานให้ได้มาตราฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีการดำเนินงานภายใต้ภารกิจสำคัญ ๓ ประการ มีรายละเอียด ดังนี้
๑. การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เป็นภารกิจหลักที่จะทำให้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือและพัฒนาฝีมือแรงงานให้ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยให้ความสำคัญกับสาขาอาชีพที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นสำคัญ เนื่องจากจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ขาดปัจจัยสำคัญในการผลิต ได้แก่ แรงงานที่มีฝีมือ ดังนั้น จุดหมายหลักจึงต้องพัฒนาคนให้ทันกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของภาคเศรษฐกิจ โดยได้ดำเนินการฝึกในหลักสูตร ๓ ประเภท คือ
๑.๑ หลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (Pre-employment Training)
มีข้อกำหนดหลักสูตร ดังนี้
ก. หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานก่อนเข้าทำงาน เพื่อให้แรงงานมีสมรรถนะการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานแต่ละสาขาอาชีพ
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึก
๑) เพื่อผลิตกำลังแรงงานฝีมือระดับต้นในสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานให้มีเพียงพอกับปริมาณ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการในพื้นที่
๒) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่กำลังจะเข้าสู่การทำงานในตลาดแรงงาน ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างเสริมนิสัยใน การทำงาน ให้สามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของแต่ละสาขาอาชีพเป็นอย่างดี
๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่แรงงานใหม่หรือแรงงานที่จะเข้าสู่การทำงานในตลาดแรงงานซึ่งยังไม่มีพื้นฐานด้านอาชีพ
๓. ระยะเวลาการฝึก ฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ซึ่งมีหน้าที่จัดฝึกอบรม ตั้งแต่ ๒๘๐ ชั่วโมงหรือ ๒ เดือนขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๑,๖๘๐ ชั่วโมงหรือ ๑๒ เดือน และฝึกในกิจการอีก ๑ - ๔ เดือน (แล้วแต่สาขาอาชีพ)
ข. หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานก่อนเข้าทำงาน เพื่อเสริมศักยภาพของแรงงานให้สามารถปฏิบัติงานในอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึก
๑) เพื่อเสริมสร้างกำลังแรงงานฝีมือระดับต้น ในสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ให้มีเพียงพอกับปริมาณความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการ ในพื้นที่
๒) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่กำลังจะเข้าสู่การทำงานในตลาดแรงงาน ให้มีความรู้และทักษะเสริมด้านต่างๆ ที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานในอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แรงงานใหม่ หรือแรงงานที่จะเข้าสู่การทำงานในตลาดแรงงานซึ่งมีพื้นฐานด้านอาชีพอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้ทำงาน
๓. ระยะเวลาการฝึก ฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ตั้งแต่ ๓๕ ชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๒๘๐ ชั่วโมง
๑.๒ หลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (Upgrade Training)
มีข้อกำหนดหลักสูตร ดังนี้
ก. หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความสามารถ และทักษะในด้านอาชีพให้กับแรงงานได้มีศักยภาพการทำงานที่สูงขึ้น
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึก
๑) เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
๒) เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านอาชีพที่มีอยู่แล้วให้สูงขึ้น
๓) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
๒. กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว หรือผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาแล้ว ซึ่งต้องมีพื้นฐานความรู้ ความสามารถและทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพที่จะเข้าฝึก
๓. ระยะเวลาการฝึก ฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ตั้งแต่ ๖ ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๒๔๐ ชั่วโมง
ข. หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านการบริหารจัดการหรือความรู้เสริมอื่นๆ ที่จะสนับสนุนให้การปฏิบัติงานในอาชีพหลักของแรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึก
๑) เพื่อเสริมศักยภาพของแรงงานให้สามารถปฏิบัติงานในอาชีพหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๒) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว หรือผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาแล้ว
๓. ระยะเวลาการฝึก ฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ตั้งแต่ ๖ ชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกิน ๒๔๐ ชั่วโมง
๑.๓ หลักสูตรการฝึกอาชีพเสริม (Re-training)
หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มเติมความรู้ความสามารถในสาขาอาชีพอื่นที่นอกเหนือจากอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ตามปกติหรือนอกเหนือจากความรู้เดิม
โดยมีข้อกำหนดหลักสูตร ดังนี้
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึก
๑) เพื่อสร้างโอกาสให้กับแรงงานได้มีอาชีพอื่นเพิ่มขึ้นตามความถนัดและความสนใจของแรงงานที่นอกเหนือจากอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ตามปกติ
๒) เพื่อให้ผู้ที่ทำงานอยู่แล้วสามารถประกอบอาชีพใหม่ควบคุมกับอาชีพเดิม หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ และผู้ว่างงานได้มีงานทำมากขึ้น
๓) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่ทำงานอยู่แล้วหรือผู้ว่างงานได้พัฒนาตนเอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพใหม่
๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่ทำงานอยู่แล้ว หรือผู้ว่างงานที่ประสงค์จะมีอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริม
๓. ระยะเวลาการฝึก ฝึกโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ตั้งแต่ ๖ ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๔๘๐ ชั่วโมง
๒. การทดสอบฝีมือมาตรฐานแรงงาน
มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนะคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
การทดสอบฝีมือมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นการทดสอบฝีมือ ความรู้ความสามารถและทัศนะคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพตามเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
๑) การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนะคติในการทำงานของผู้ประกอบการอาชีพในสาขาต่างๆ เพื่อประเมินศักยภาพ ทักษะ ฝีมือ และสมรรถนะการทำงานของแรงงานฝีมือ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และสร้างมูลค่าสำหรับการแข่งขันของประเทศ
มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕ มีคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงานทำหน้าที่บริหารและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแต่ละสาขาอาชีพขึ้น โดยการกำหนดฝีมือแรงงาน จะเป็นการจำแนกระดับฝีมือแรงงานตามความรู้ความสามารถในการทำงานสาขาอาชีพต่าง ๆ ตามลักษณะที่ควรรู้และสามารถทำได้ในขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับความยากง่ายของงาน เพื่อใช้ทดสอบประเมินศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือ ทัศนะคติ และสมรรถนะการทำงานของแรงงานมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓
๒) การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ
เป็นการทดสอบฝีมือ ความรู้ความสามารถ และทัศนคติในการทำงานของแรงงาน ที่เป็นความต้องการเฉพาะตำแหน่งในสถานประกอบการหรือนายจ้าง
๓) การทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
เป็นการทดสอบฝีมือ ความรู้ความสามารถ และทัศนะคติในการทำงานของคนหางาน เพื่อจะไปทำงานในต่างประเทศ โดยทำการทดสอบฝีมือจากแบบทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
๓. การส่งเสริม/พัฒนาฝีมือแรงงานในสถานประกอบกิจการ
จากกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนเป็นหลัก ไปสู่การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย จึงมีผลต่อรูปแบบการจ้างงานที่ใช้ทักษะฝีมือมากขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือจึงเพิ่มขึ้นตามมา นอกจากนี้การที่ค่าจ้างแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านมีอัตราต่ำกว่าประเทศไทย ทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย
ฐานการผลิตและการลงทุนไปในประเทศที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า ดังนั้น ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับคุณภาพคนที่ได้มาตรฐานและเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตมูลค่าและมาตรฐานของสินค้า แต่ระบบการศึกษา ไม่สามารถผลิตคนออกมาได้ทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐก็มีข้อจำกัดในการช่วยยกระดับฝีมือให้แก่แรงงานในสถานประกอบกิจการให้ทันกับเทคโนโลยีการผลิต รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมพัฒนาฝีมือแรงงานในระบบการจ้างงานในสถานที่ประกอบกิจการขอตนเอง โดยใช้มาตรการจูงใจภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการส่งเสริมในเรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานสู่ประสิทธิผล คุณภาพ และประสิทธิภาพในระดับสากล
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจกาภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานมากยิ่งขึ้น โดยมีข้อกำหนดเรื่องกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งกำหนดให้สถานที่ประกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐๐ คน ขึ้นไป ต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงานบุคลากรของสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของลูกจ้างในแต่ละปี ถ้าไม่จัดฝึกอบรมหรือฝึกอบรมไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด จะต้องส่งเงินสบทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ ๑ ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสบทบ(๓,๙๙๐ บาท/เดือน ) โดยคิดจากจำนวนลูกจ้างที่ไม่ได้จัดฝึกอบรมตามสัดส่วนและสถานประกอบกิจการที่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีได้ร้อยละ ๑๐๐ ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ ๔๓๗) พ.ศ.๒๕๔๘ ซึ่งออกตามประมวลรัษฎากร