การแสดงผล

+
-

โครงสร้างหน่วยงาน

โครงสร้างหน่วยงาน

ฝ่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน  มีหน้าที่ดังนี้

๑.   จัดการฝึกอบรมให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
๒.   สนับสนุนหน่วยงาน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนในการนำและปรับปรุงระบบ รูปแบบ หลักสูตร อุปกรณ์ช่วยฝึก และเทคโนโลยีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน รวมทังการพัฒนาบุคลากรฝึกไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่
๓.    อำนวยความสะดวกให้คำแนะนำด้านการจัดการฝึกอบรมแก่กำลังแรงงาน ประชาชน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสถานประกอบการ
๔.   ดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับรองการสำเร็จการฝึกอบรม
๕.   ให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกำลังแรงงาน และสถานประกอบกิจการเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
๖.   ประสานความร่วมมือในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมภารกิจหน่วยงานทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน กลุ่ม องค์กร ชมรม ฯลฯ
๗.   ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความสามารถต่อการเป็นผู้จัดการฝึก วิทยากร และผู้บริหารการฝึก
๘.   เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของหน่วยงาน รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชน และผู้สนใจในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
๙.   ดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๑๐. ดำเนินการเกี่ยวกับการให้กู้ยืมและการช่วยเหลือหรืออุดหนุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๑๑. งานเกี่ยวกับการรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๑๒. งานเกี่ยวกับงานประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
๑๓. จัดระบบงานบัญชีกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด และเงื่อนไขหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน
๑๔. จัดทายงาน ส่งรายงานทางบัญชีไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาและตรวจสอบความเคลื่อนไหวงานทางบัญชีกองทุนพร้อมบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
๑๕.  ตรวจสอบเร่งรัดการชำระหนี้ และติดตามให้บุคคล นิติบุคคล มาดำเนินการชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทางกฎหมายกรณีเป็นหนี้สูญ หรือฟ้องชำระหนี้
๑๖.  ดำเนินการตรวจสอบจัดทำแผนการตรวจสอบ ให้คำแนะนำสถานประกอบการเพื่อให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๗. จัดทำแฟ้มทะเบียนสถานประกอบกิจการโดยจำแนกประเภทตามลักษณะข้อเท็จจริง เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นและตรวจสอบ
๑๘.  รายงานผลการตรวจสอบสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องและที่ไม่ถูกต้องให้หน่วยงานทราบ
๑๙.  นำเสนอปัญหาข้อมูลที่เกิดจากการเข้าตรวจสอบ
๒๐.  ตรวจรับรองข้อมูลสถานประกอบกิจการ จัดลำดับเลขที่บัญชีกองทุนตามระเบียบปฏิบัติของหน่วยงาน
๒๑.  ศูนย์ช่างประจำชุมชนเทิดไท้องค์ราชัน
๒๒.  การประกวดสื่อ ครูฝึกดีเด่น เพชรน้ำหนึ่ง และสถานประกอบกิจการดีเด่น
๒๓.  กิจกรรมประชาสัมพันธ์ออกหน่วยเคลื่อนที่
๒๔.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวช้องหรือได้รับมอบหมาย

 

         ฝ่ายมาตรฐานฝีมือแรงงาน  มีหน้าที่ดังนี้

๑.  กำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ดังนี้

     -   พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
     -   พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนงาน พ.ศ. ๒๕๒๘ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่เกี่ยวจ้องกับสถานทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
     -   พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน
     -   กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒.  การส่งเสริมและประสานงานให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้
     -   ส่งเสริมการจัดทำและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพ จัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนหรือองค์กรอาชีพ จัดตั้งสถานทดสอบฝีมือแรงงานคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมและให้คำปรึกษาแลนะนำในการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมการแข่งขันฝีมือแรงงานให้กับสถานประกอบกิจการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมและสนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมทั้งประสานการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     -   ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการและองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในการนำมาตรฐานฝีมือแรงงานไปใช้ในระบบพัฒนากำลังแรงงานและการจ้างงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

๓.  การดำเนินการ ดังนี้
      -  จัดให้มีการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการและสร้างผู้ชำนาญการเฉพาะทางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
      -  จัดให้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
      -  จัดให้มีการทดสอบฝีมือคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
      -   ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๔.  ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงแรงงาน นโยบายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นโยบายจังหวัดและกลุ่มจังหวัดหรือที่ได้รับมอบหมาย

            ฝ่ายแผนงานและประเมินผล มีหน้าที่ดังนี้
๑.   ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน และความจำเป็นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานของกำลังแรงงาน
๒.   แปลงนโยบายระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนงาน แผนปฏิบัติการ และโครงการ
๓.   ประสานแผนการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และแผนการฝึกอาชีพของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
๔.   งานส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานภาครัฐและเอกชน
๕.   เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๖.   ประเมินผล และติดตามผลการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๗.   ดำเนินการและกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๘.   ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด
๙.   ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณ จัดทำคำของบประมาณประจำปี งานแผนงานและประเมินผล จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ
๑๐.  งานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และติดตามรวบรวมตัวชี้วัดหน่วยงาน
๑๑.  งานรวบรวมข้อมูลสถิติและรายงานผล
๑๒.  งานเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ภารกิจ
๑๓.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

            ฝ่ายประเมินและรับรองความรู้ความสามารถ มีหน้าที่ดังนี้
๑.   ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองความรู้ ความสามารถ
๒.   สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงาน ที่มีอยู่ในสถานประกอบกิจการ
๓.   ประสานกับหน่วยงานของรัฐ สถานประกอบกิจการเอกชนหรือองค์กรอาชีพเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้
๔.   จัดทำสมุดประจำตัวและบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ตรงตามความจริง
๕.   ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นศูนย์ประเมินความรู้ ความสามารถ
๖.   ประเมินและออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ประเมิน
๗.   พิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายจ้างงานผู้มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ
๘.   รับและตรวจสอบการขออุทธรณ์
๙.   รายงานและเก็บรักษาข้อมูล
๑๐.  ตรวจและเปรียบเทียบปรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
๑๑. ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการรับรองความรู้ความสามารถผู้ประกอบอาชีพควบคุม
๑๒. สนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการนำและปรับปรุงระบบ รูปแบบ หลักสูตร อุปกรณ์ช่วยฝึก และเทคโนโลยีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน  รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรฝึกไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่
๑๓. โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย
๑๔. ศูนย์ให้บริการปรึกษาเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
๑๕. งานประชุมเครือข่ายหน่วยงานกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
๑๖. การประเมินเลื่อนระดับครูฝึกฝีมือแรงงาน
๑๗. รวบรวมและรายงานการประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๑๘. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

  งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ดังนี้

๑. งานบริหารบุคคล ข้อมูลบุคากร และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
๒.  การจัดทำแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
๓.  ติดตามรวบรวมตัวชี้วัดรายบุคคล
๔.  งานสารบรรณ งานธุรการ งานประชุมสัมมนา และงานเลขานุการ
๕.  งานการเงิน งานพัสดุ งานทะเบียนพัสดุ และครุภัณฑ์
๖.  งานอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
๗. งานประสานและอำนวยการ
๘. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย